วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปงาน OTOP Midyear 2012

จากการพบผู้ประกอบการไผ่ริมแควในงาน otop midyear 2012 ปัญหาแรกที่เห็นเด่นชัดคือความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อน้ำตาลในรูปแบบที่ทุบกึ่งละเอียด เหตุผลคือ ใช้ง่ายกว่าแบบที่อัดเป็นก้อนหรืออัดในกล่อง ถึงกระนั้น สินค้าก็ยังมีความเป็นที่นิยมสูงสำหรับบรรดาแม่บ้านพ่อบ้านในการนำไปประกอบอาหาร



จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการเพิ่มเติมภายในงาน  ได้ข้อสรุป 2 อย่างคือ
อย่างที่ 1 ความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ ให้สวยงามยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของตัวผลิตภัณฑ์
อย่างที่ 2 การแปรรูปตัวผลิตภัณ์ เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายหลักๆ คือ
2.1 กลุ่มแม่บ้านทั่วไป ที่เน้นในเรื่องประโยชน์ใช้สอยที่สะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรูปทรงใหม่ของน้ำตาลก็ดี หรือการทำเป็นผงก็ดี แต่ติดปัญหาที่ว่า อยากให้ใช้ส่วนผสมอื่นๆเล็กน้อยที่สุด เพื่อคงความเป็นน้ำตาลมะพร้าวให้ได้มากที่สุด
2.2 กลุ่มแม่ค้าส้มตำ แม่ค้าขนมหวาน กลุ่มนี้เค้าจะไม่ใช้น้ำตาลในลักษณะแข็ง แต่จะเน้นการใช้น้ำตาลปี๊บ ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำ เหนียว เพราะการประกอบอาหารของเค้า น้ำตาลในลักษณะนี้ จะสะดวกต่อการนำไปประกอบอาหารมากกว่า ขาดแต่ตัวบรรจุภัณฑ์ ซึ่งไม่อยากให้เป็นในรูปแบบของถุงพลาสติกที่มียางรัดแบบเดิม



วันนี้ได้นำรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบไปให้ผู้ประกอบการดู ได้รับความตอบรับดีพอสมควร เพราะตรงโจทย์ในแบบที่ผู้ปะรกอบการตั้งไว้คือต้นทุนของการผลิตบรรจุภัณฑ์ต่ำ และสามารถนำไปใส่น้ำตาลได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบทุบ ซึ่งเมื่อนำมาใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบแล้ว ไม่ดูเป็นเศษน้ำตาลเหมือนก่อนที่ทุบแล้วใส่ในถุงพลาสติกธรรมดา หรือจะนำไปใส่น้ำตาลปี๊บที่มีลักษณะเหนียวก็ได้ เพียงแต่ให้ปรับแก้ในข้อมูลบางส่วนเล็กน้อย ซึ่งต้องนำกลับมาพัฒนาต่อไป

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การออกแบบและสร้างfontข้อความ ด้วย adobe illustrator

วิธีการออกแบบและสร้าง font ข้อความด้วย adobe illustrator จากภาพที่สเก็ตมือธรรมดาๆ สู่รูปแบบ vector ให้เพื่อนๆบางคนที่ยังไม่ทราบวิธี ได้สร้าง font ของตัวเองได้ หากขั้นตอนใดของบทความนี้มีข้อผิดพลาด ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

1. ออกแบบข้อความที่ต้องการลงในกระดาษขาว A4 โดยใช้หมึกดำลงสี แล้วนำไปสแกน

2. เปิดโปรแกรม Adobe illustrator แล้ว open file ขึ้นมา


3.การใช้คำสั่ง Live Trace เพื่อเปลี่ยน file ภาพให้ลายเส้นกลายเป็นรูปแบบ Vector


4. ผลที่ได้ (สังเกตความแตกต่างของลายเส้น)


5. ทำการแยกตัว font และ background ออกจากกันเพื่อได้ file vector 
ที่สมบูรณ์ โดยใช้คำสั่ง Flatten Tansparency


6. ผลที่ได้ เมื่อคลิกดูจะเห็น point ในตัว font ที่ออกแบบเพิ่มขึ้น


7. ใช้ Selection tool คลิกบนตกแหน่ง background 
เพื่อให้เหลือแต่ส่วน background ดังรูป 
(สังเกต เมื่อคลิกเลือกแต่ background สำเร็จ point เมื่อสักครู่จะหายไป)


8.กด delete ในส่วน background ทิ้งไป ก็จะได้ file vector ซึ่งเป็น font ข้อความ
ที่เราออกแบบเอง จากนั้นก็นำไปใช้ประโยชน์ตามสมควรค่ะ 





วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 11

การเรียนการสอนในสัปดาห์นี้ มีการนัดส่งงาน Final Project ครั้งที่ 1 โดยชิ้นงานที่นำมาส่งทั้งหมดมี

1. Mood board สรุปข้อมูลเอกสารรายงาน

2. งานเขียนโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ Sketch up


3.แบบการฟิกอาร์ตเวิร์ค ไฟล์ PSD มีรายละเอียดสินค้า และภาพประกอบกราฟิก


4. ตัว Model สินค้า

การเลือกใช้ตัว Model สินค้าในรูปแบบนี้ นั่นก็เพราะ ผู้ประกอบการ์มีความต้องการให้การที่จะสร้างตัวบรรจุภัณ์ขึ้นมาใหม่นั้น จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายให้ต่ำที่สุด เพื่อประหยัดต้นทุน ซึ่ง ราคาบรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋องพลาสติก ฝาเกลียว ราคาปลีก ตกอยู่ที่กระป๋องละ 5 บาท ราคาส่ง 100 กระป๋องขึ้นไป ตกอยู่ที่กระป๋องละ 2 บาท ซึ่งราคาใกล้เคียงกับบรรจุภัณฑ์แบบเก่า แต่แบบใหม่นี้ สามารถปิดล๊อคได้แน่นหนากว่า และการเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ ให้มีการทุบละเอียดมากขึ้น เพื่อคงรูปลักษณ์ความเป็นน้ำตาลมะพร้าวให้คงอยู่ หากทำเป็นลักษณะผงป่นไป จะทำให้เสียรูปลักษณ์เดิมของน้ำตาลปึก แต่ด้วยความที่เป็น organic หรืออาหารที่ผลิตโดยไม่ผ่านสารเคมีใดๆ ในทุกขั้นตอนของการผลิต ทำให้ลักษณะของตัวน้ำตาลเปลี่ยนไปตามสภาพอากาศ หากเจออากาศร้อน ตัวน้ำตาลก็จะค่อยๆละลายแล้วจับตัวเป็นก้อน แต่ก็ยังใช้สอยได้ง่ายกว่ารูปลักษณ์เดิมที่เป็นก้อนแข็ง

โดยการส่งงานครั้งนี้ ยังต้องนำงานกลับไปแก้ไขจุดที่บกพร่องและนำมาส่งใหม่ในอาทิตย์หน้า นั่นคือตัวฉลากสินค้า ที่ปิดไม่รอบกล่อง เกิดจากความผิดพลาดในการปริ๊นกระดาษสติกเกอร์ที่ไม่ขยายขอบกระดาษให้เต็มแผ่น และการปรับแก้ไขอาร์ตเวิร์คในบางส่วน อย่างเช่น font ที่อาจจะลองปรับดีไซน์ออกมาใหม่ ให้เป็น font ที่ออกแบบด้วยตัวเอง 

---------------------------------------------------------------------------------------

นอกจากนี้ในชั่วโมงอาจารย์ยังสอนการใช้โปรแกรม adobe illustrator อย่างคร่าวๆ ซึ่งเป็นการสร้างลวดลายที่เล่นกับคำสั่ง Line Segment tool และ Add anchor point tool เป็นหลัก 






เมื่อสร้างเส้นโค้งได้แล้ว สามารถเพิ่มข้อความลงไปได้ โดยข้อความจะเอียงและโค้งงอตามเส้นที่เราดัดไว้

หรือสามารถเพิ่มและเปลี่ยนลักษณะของเส้นโค้งที่สร้างไว้ได้ โดยใช้ตัวช่วยใน Brushes ซึ่งเป็นฟังค์ชั่นสำเร็จรูป


ต่อมาเป็นการสร้างลาย pattle ใช้เอง โดยใช้เครื่องมือและ symbol สำเร็จรูปใน Adobe illustrator


การออกแบบ หรือดีไซน์งานใดๆก็ตาม ควรระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะในทางกฏหมายก็มีการเอาผิดในเรื่องของการลอกเลียน ซึ่งจัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ออกแบบท่านนั้น ควรระมัดระวังในการใช้ font หรือ vector ต่างๆ ให้ดี 





วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่10

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 10 มีการตรวจงานเอกสาร Final Project ที่ได้รับมอบหมายตามหัวข้อเดิม ในครึ่งเทอมแรก เพียงแต่รอบนี้ ต้องเอาโจทย์หรือปัญหาของผู้ประกอบการเป็นตัวตั้ง

นอกจากนี้อาจารย์ยังได้มีการแนะนำโปรแกรม Free online barcode generator ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างแถบรหัสบาร์โค๊ดสินค้า เพื่อนำไปทำอาร์ตเวิร์คได้อย่างถูกต้อง สามารถเข้าถึงหน้าเว็บโปรแกรมได้ที่ http://www.barcodegeneratoronline.com/




บาร์โค้ดที่ save ออกมา


บาร์โค๊ดแบบตัวเลขนั้น มีหลายประเภทด้วยกัน ตัวที่ได้สร้างขึ้นมานี้คือ บาร์โค๊ตที่เรียกว่า EAN-13 (European Article Numbering international retail product code) เป็นบาร์โค๊ตที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยบาร์โค๊ตประเภทนี้จะมีลักษระเฉพาะของชุดตัวเลขจำนวน 13 หลัก นั่นหมายถึง

3 หลักแรก คือรหัสของประเทศที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ผลิตได้ทำการลงทะเบียนได้ทำการผลิตจากประเทศไหน
4 หลักถัดมา คือ รหัสโรงงานที่ผลิต
5หลักถัดมา คือ รหัสของสินค้า
และตัวเลขในหลักสุดท้าย จะเป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด (Check digit)


นอกจากนี้ ท้ายชั่วโมง ยังมีกิจกรรมแนะนำ นั่นคืองาน OTOP Midyear2012 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-26 สิงหาคม 2555 ณ อาคาร Challenger Hall 1-3 อิมแพค เมืองทองธานี
รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.thaitambon.com/OTOPFair2555/OTOPMidyear2012.htm





วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปงานในครึ่งเทอมแรก


สรุปงานกลุ่มที่ได้ทำมาตั้งแต่ต้นเทอม

ตัวผลิตภัณฑ์เดิมของน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม ไผ่ริมแคว

ข้อเสียของผลิตภัณฑ์นี้คือ
1. ฉลากสินค้ามีความเล็ก และขาดความน่าสนใจที่จะดึงดูดสายตาผู้บริโภค
2. ภาพประกอบไม่ชัดเจน เข้าใจได้ยาก
3. ผลิตภัณฑ์ขาดความสวยงาม ซึ่งเป็นตัวดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค
4. ผลิตภัณฑ์มีความยากต่อการนำไปใช้งาน

ดังนั้น ทางกลุ่มจึงได้มีการปรับ เพิ่ม และดัดแปลงตัวผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ ดังนี้
1. ชื่อสินค้า เปลี่ยนจากไผ่ริมแคว เป็นตาลริมแคว เพื่อให้ยังคงความเป็นรูปแบบเดิมไว้เพียงเล็กน้อย และเชื่อมโยงกับกิจการอื่นๆของ คุณแดง และ เจ๊หนู
2. ออกแบบฉลากสินค้ารูปแบบใหม่ ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น
3. เพิ่ม pattle รอบกล่องเดิม เพื่อเพิ่มความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์มากขึ้น แต่ออกแบบให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีการใช้กระดาษ คราฟสีน้ำตาล(กระดาษรีไซเคิล)
4. ออกแบบบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ และสร้างตัวผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ ให้ใช้สอยได้ง่ายยิ่งขึ้น

ที่มา : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) , Sketch รูปแบบ Pattle และชื่อสินค้า
ออกแบบโดย : นางสาวจารุรัตน์ น่าเยี่ยม

ที่มา : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) , ออกแบบชื่อสินค้าและตราสัญลักษณ์ในรูปแบบใหม่
ออกแบบโดย นางสาวจารุรัตน์ น่าเยี่ยม

ที่มา : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) , การออกแบบตัวผลิตภัณฑ์และ pattle รอบกล่องโดยโปรแกรม Sketch up
ออกแบบโดย : นางสาวจารุรัตน์ น่าเยี่ยม

ที่มา : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) , รูปแบบ Pattle ของกล่องที่เสร็จสมบูรณ์
ใช้การขัดกันของกระดาษ เผื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องกาวออกไป
ออกแบบโดย นางสาวจารุรัตน์ น่าเยี่ยม

สรุปชิ้นงาน
การพัฒนาต่อยอดจากรูปแบบเดิมเพียงเล็กน้อย
ที่มาของภาพ : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) , ผลิตภัณฑ์ซึ่งยังคงรูปแบบเดิม 
เพียงนำมาต่อยอดเพิ่ม Pattle และ Label ใหม่ เพียงเล็กน้อย 
ออกแบบโดยนางสาวจารุรัตน์ น่าเยี่ยม

การพัฒนาต่อยอดจากรูปแบบเดิม โดยมีการเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์เพียงเล็กน้อย
 ที่มาของภาพ : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) , การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ 
โดยตัวบรรจุภัณฑ์มีหูจับ เพื่อสะดวกต่อการหยิบถือ ออกแบบโดยนางสาววิภาดา โทนสูงเนิน
แต่ปัญหาที่พบคือ ในขณะที่บรรจุน้ำตาลลงไป ตัวบรรจุภัณฑ์เองสามารถรองรับความร้อนได้ในระดับหนึ่ง
ซึ่งน้ำตาลที่ร้อนจัดนั้น ส่งผลให้ ตัวบรรจุภัณฑ์มีการหลอมละลายลงเล็กน้อย 

การพัฒนา เปลี่ยนแปลงรูปแบบบรรจุภัณฑ์และรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่

ที่มาของภาพ : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) , การปรับรูปร่างของผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยสะดวกต่อการใช้งาน
และสามารถนำไปใช้ได้จริง
ออกแบบโดย นางสาววิภาดา โทนสูงเนิน

ที่มาของภาพ : จารุรัตน์ น่าเยี่ยม (2555) , Mini Exhibition

ที่มาของภาพ : ณัชชา แสงพยับ (2555) , หลังจบการ Present