วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยการมอง


การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยการมอง (Product Visual analysis)
ชื่อผลิตภัณฑ์ น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% ตราไผ่ริมแคว
ภาพแสดงโครงสร้าง และส่วนประกอบทางกราฟิกของผลิตภัณฑ์สินค้าน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% ตราไผ่ริมแคว

ผลการวิเคราะห์
ก.โครงสร้างของตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ปัจจุบัน

หมายเลข 1 คือ กล่องพลาสติก
1.1 กล่องพลาสติก ชนิด P.P. Polypropylene
1.2 ขนาด มิติ ความกว้าง 11 ซม / ยาว 18 ซม / หนา 6 ซม
1.3 รูปแบบกล่องพลาสติกสี่เหลี่ยม มีฝาปิด
1.4 ราคา 35 บาท
หมายเลข 2 คือ (ในกล่อง)ตัวผลิตภัณฑ์ น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100%
หมายเลข 3 คือ ฝาปิดของกล่องพลาสติก


ข.กราฟิกที่ปรากฏบนตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ปัจจุบัน
หมายเลข 4 คือ ภาพประกอบรูปมะพร้าวน้ำหอม
หมายเลข 5 คือ ชื่อสินค้าน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100%
หมายเลข 6 คือ LOGO บริษัทผู้ผลิต = ไผ่ริมแคว
หมายเลข 7 คือ ภาพประกอบรูปต้นมะพร้าว
หมายเลข 8 คือ ข้อความประกอบและเบอร์โทรติดต่อของผู้ผลิต
หมายเลข 9 คือ LOGO ผู้ผลิต
หมายเลข 10คือ ภาพประกอบ
หมายเลข 11 คือ ข้อมูลผู้ผลิต
หมายเลข 12 คือ เครื่องหมาย มอก (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)

ปัญหาที่พบคือ(จากความรู้ของฐานะนักออกแบบบรรจุภัณฑ์)

                1.จุดบอดทางการมองเห็น-การสื่อสาร ได้แก่
1.1. ตัวฉลากสินค้ามีขนาดเล็ก และไม่ดึงดูดสายตา
1.2. ภาพประกอบบนฉลากสินค้าไม่ชัดเจน ทำให้เข้าใจได้ยาก

2. ข้อเสียโดยภาพรวมของผลิตภัณฑ์ ได้แก่
2.1. ผลิตภัณฑ์ขาดความสวยงามซึ่งเป็นตัวดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค
2.2. ตัวผลิตภัณฑ์มีความยากต่อการนำไปใช้สอย เพราะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง

ความต้องการของผู้บริโภค
ความต้องการส่วนใหญ่ของผู้บริโภคที่บริโภคสินค้าน้ำตาลมะพร้าว 
1. ภาพลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ ดึงดูดสายตา ควรค่าแก่การซื้อ
2. 
วิธีการใช้สอย ควรใช้สอยได้สะดวก เก็บรักษาได้ง่าย


3. คุณภาพของสินค้า (ในที่นี้ น้ำตาลไผ่ริมแคว ซึ่งเป็นน้ำตาลมะพร้าว 100% มีคุณภาพสินค้าที่ดีและสูงมาก)

สรุปสิ่งที่ต้องนำมาปรับแก้ไขใหม่คือ
1. ฉลากสินค้า ทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อดึงดูดสายตา
2.แปรรูปตัวผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน
3.การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติม 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น